วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส้มตำเพื่อสุขภาพ



 ไม่เพียงรสชาติที่อร่อยถูกปาก ประโยชน์ของส้มตำก็มีไม่น้อย เพราะวัตถุดิบที่มีอยู่ในส้มตำล้วนเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคทั้งนั้น ใครที่ชอบทานส้มตำก็สบายใจได้
      - มะละกอดิบ ต้มกินเป็นยาบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี-น้ำเหลือง

      - มะเขือเทศ มีรสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว

      - มะกอก รสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ

      - พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือดค่ะ

      - มะนาว เปลือกผลรสขมช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยวแก้เสมหุ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต

      - ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะ ลำไส้ บำรุงธาตุดิน

      - กะหล่ำปลี รสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะ ลำไส้ บำรุงธาตุไฟ

      - ผักบุ้ง รสจืดเย็นใช้ต้มกินเป็นยาระบายทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนู

      - กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ

      - มะยม ใบต้มกินเป็นยาแก้ไอ ช่วยดับพิษไข้ บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร แก้พิษอีสุกอีใส โรคหัดเลือด

ไม่อ้วนเอาเท่าไร

หากคุณต้องการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว คุณควรรู้เท่าทันความหิวที่จู่โจมจนคุณตั้งตัวไม่ทัน มาเรียนรู้วิธีป้องกันความหิวที่ทำให้คุณกินจนอ้วนเกินงาม

      1. ดื่มซอฟดริ๊งค์มากเกินไป
       เช่น น้ำโซดา ไอซ์ที และซอฟดริ๊งค์หวาน ๆ ซึ่งมีน้ำตาลฟรุคโตสไซรัปมากเกินไป จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่า ศูนย์ความหิวในสมองของเราจะถูกกระตุ้นโดยน้ำตาลฟรุคโตส แม้ว่าเราจะอิ่มแล้วก็ตาม เนื่องจากน้ำตาลฟรุคโตสจะไปยับยั้งฮอร์โมน Leptin ซึ่งมีหน้าที่บอกว่ากินอิ่มแล้ว

      2. กินอาหารเช้าไม่อิ่ม
        นักวิชาการได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการกินกับอาสาสมัครจำนวน 6,764 คน เป็นเวลา 4 ปี ผลปรากฏว่า คนที่กินอาหารเช้าประมาณ 300 แคลอรี มีน้ำหนักขึ้นหนึ่งเท่าตัวมากกว่าคนที่กินอาหารเช้ามากกว่า 500 แคลอรี เหตุผลก็คือ การกินอาหารเช้าให้อิ่ม จะทำให้น้ำตาลในเลือดและอินซูลินไม่พุ่งสูงระหว่างวัน เพราะถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำจะไม่ก่อให้เกิดความหิวโหย

      3. กินผักสลัดน้อยเกินไป
        ผักสลัดมีกรดโฟลิกสูง มีผลในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า ไม่ทำให้ง่วงและไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น จากการศึกษาได้พิสูจน์ไห้เห็นว่า คนที่ไดเอ็ตแล้วมีระดับกรดโฟลิกสูงสุดในเลือด ลดน้ำหนักได้ 8.5 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่มีค่ากรดโฟลิกต่ำสุด ทั้งนี้ในผักสลัดสีเขียวมีวิตามินเคสูงมาก ซึ่งจะไปควบคุมความรู้สึกหิวที่ดีที่สุดคือ ผักโขม กะหล่ำปลี

      4. ดื่มชาน้อยเกินไป
         จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน "Journal of the American College of Nutrition" พบว่า หากดื่มชาดำหลังกินคาร์โบไฮเดรต จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงถึง 10 เปอร์เซ็นต์ภายในประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง หมายความว่าการดื่มชาจะทำให้รู้สึกอิ่มนาน เนื่องจากสารโพลีฟีนอยในชาจะกดความรู้สึกหิวเอาไว้

      5. ดื่มน้ำน้อยเกินไป
        ความรู้สึกกระหายน้ำเหมือนกับความรู้สึกหิว ถ้าคุณกินอาหารอย่างเดียวโดยไม่ดื่มน้ำ และยังรู้สึกหิวอยู่ล่ะก็ ให้คุณดื่มน้ำหนึ่งแก้ว ก่อนที่คุณจะตักอาหารจานต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ความรู้สึกหิวจะหายไปเอง

      6. กินอาหารกระป๋องมากเกินไป
         อาหารกระป๋องบางอย่างมีสารเคมี Bisphenol A ซึ่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า มันทำให้ฮอร์โมน Leptin ในร่างกายสูงผิดปกติ จึงทำให้หิวโหยและอ้วนนาน

      7. คุณรู้สึกเบื่อ         นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Flinders ในประเทศออสเตรเลีย พบว่า ความหิวอาจเกิดจากคุณเบื่อและต้องการเบี่ยงเบนความเบื่อ ดังนั้น คุณควรทดสอบว่า คุณหิวหรือรู้สึกเบื่อกันแน่ โดยให้คุณนึกภาพสเต็กจานใหญ่ ถ้าคุณหิวจริง ๆ คุณจะรู้สึกว่า สเต็กจากนี้น่าอร่อย แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยน่ากิน แสดงว่าคุณกำลังเบื่อมากกว่าหิว แต่ไม่ได้หมายความว่าให้คุณกินในมื้อต่อไปนะ



ประวัติโรงเรียน

ในปี พ.ศ.2519 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี  นายธงชัย ยงสุนทร สมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี ได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ คือท่านพระครูประสาทรัตนกิจ เพื่อขอสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น ณ ตำบลประสาทสิทธิ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้มอบที่ดินของวัด จำนวน 43 ไร่เศษ เพื่อใช้ก่อสร้างโรงเรียน

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ ทวี  สุขสม
ชื่อเล่น เอ๋
ภูมิลำเนา ราชบุรี
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
สอน สุขศึกษาและพลศึกษา ประสาทรัฐประชากิจ

ค้นหาบล็อกนี้