วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
สุขศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  การทำงานของระบบผิวหนัง  ระบบกระดูก 
และระบบกล้ามเนื้อ 
เรื่อง  การทำงานของระบบกระดูก  และระบบกล้ามเนื้อ         
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4                                                                            เวลา  2  ชั่วโมง

Œ  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
            ระบบการทำงานของกระดูกและระบบกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กัน  ควรเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบกระดูก และระบบกล้ามเนื้ออย่างถูกต้องและเหมาะสม

  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
            2.1    ตัวชี้วัด
                     พ 1.1          ม.4-6/1  อธิบายกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงาน
                                    ของระบบอวัยวะต่างๆ
2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้
         1.   อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบกระดูก  และระบบกล้ามเนื้อได้
         2.   สร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานระบบกระดูก  และระบบกล้ามเนื้อ
                  ได้อย่างถูกต้อง


Ž  สาระการเรียนรู้
      3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง
            กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ
-      การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ
-      การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของอวัยวะต่างๆ (อาหาร  การออกกำลังกาย
        นันทนาการ  การตรวจสุขภาพ ฯลฯ)
            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                        -
 สมรรถนะของผู้เรียน
         4.1   ความสามารถในการคิด
                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์
         4.2   ความสามารถในการแก้ปัญหา
            4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
                        -      กระบวนการปฏิบัติ
                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.             มีวินัย
2.             ใฝ่เรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิด)                     
วงรี: ชั่วโมงที่ 1

1.             ครูถามนักเรียนว่า  ส่วนที่แข็งแรงที่สุดของร่างกายคือส่วนใด  และเหตุใดนักเรียนจึงคิด               เช่นนั้น  ครูควรให้นักเรียนตอบ และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เพื่อเป็นการประเมิน     ความรู้พื้นฐานของนักเรียน
2.             ให้นักเรียนร่วมกันหาข้อสรุปของคำตอบข้างต้น โดยศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน                 
3.             ครูอธิบายให้นักเรียนฟังเพิ่มเติมว่า กระดูกเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย  ซึ่งในกระดูกประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิด คือ สารที่ทำให้กระดูกมีความเหนียว (อินทรียสาร)  และสารที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง (อนินทรียสาร)
4.             ครูนำภาพโครงสร้างภายในกระดูกของคนแต่ละวัยมาแสดงให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนช่วยกันเปรียบเทียบความแตกต่างของโครงสร้างภายในกระดูกของคนในวัยต่างๆ
5.             ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง หน้าที่ของกระดูก และการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของกระดูก ในหนังสือเรียน
6.             ให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถสร้างเสริมระบบการทำงานของกระดูก
      ให้มีความแข็งแรง  เช่น
                -  การออกกำลังกาย
                -  การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
                -  การระมัดระวังและป้องการเกิดอุบัติเหตุ 
7.             ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง ระบบกระดูก
8.             ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง โรคที่เกิดจากระบบกระดูก  เมื่อทำเสร็จแล้วให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจ  และร่วมกันเฉลยคำตอบ
วงรี: ชั่วโมงที่ 2                

1.             ครูนำภาพนักกีฬาเพาะกายมาให้นักเรียนดู  แล้วให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์  และแสดงความคิดเห็นว่า  นักกีฬาเพาะกายมีวิธีการเพาะกล้ามเนื้ออย่างไร
2.             ให้นักเรียนสังเกตกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของนักกีฬาเพาะกาย  แล้วครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับการเพาะกล้ามเนื้อ  และชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงความแตกต่างของอัตราส่วนกล้ามเนื้อของเพศหญิง และเพศชาย
3.             ให้นักเรียนศึกษาโครงสร้างของกล้ามเนื้อ ในหนังสือเรียน  แล้วสรุปสาระสำคัญของกล้ามเนื้อแต่ละชนิด  ดังนี้
-      กล้ามเนื้อลาย
-      กล้ามเนื้อเรียบ
-      กล้ามเนื้อหัวใจ
4.             ครูให้นักเรียนจับคู่กัน  แล้วศึกษาความรู้เรื่อง การทำงานของกล้ามเนื้อ ในหนังสือเรียน  จากนั้น   ทำกิจกรรมไบเซ็ปส์-ไตรเซ็ปส์  และสรุปสาระสำคัญของการทำงานของกล้ามเนื้อจากการทำกิจกรรมไบเซ็ปส์-ไตรเซ็ปส์
5.             ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.2  เรื่อง การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ เมื่อทำเสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
6.             ครูเตรียมบัตรคำถามให้นักเรียนแต่ละคู่  เพื่อฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์  และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น
-      การเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย มีผลดีอย่างไร
-      ระดับของฮอร์โมน มีผลต่อร่างกายอย่างไร
-      เหตุใดเพศชายจึงมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากกว่าเพศหญิง
7.    ครูตรวจสอบคำตอบของนักเรียนแต่ละคู่  แล้วอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง  หรือขออาสาสมัครนักเรียนคู่อื่นตอบเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง
8.   ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.3  เรื่อง ระบบกล้ามเนื้อ ครูเฉลยคำตอบ  แล้วให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกับเพื่อนผลัดกันตรวจคำตอบ

9.   นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวทางในการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงาน
      ของกล้ามเนื้อ
10. ให้นักเรียนร่วมกันจัดนิทรรศการเพื่อสุขภาพ  โดยให้เสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ       และการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

·       นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน   หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

  การวัดและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ 2.1
ใบงานที่ 2.1
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ 2.2
ใบงานที่ 2.2
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำใบงานที่ 2.3
ใบงานที่ 2.3
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ประเมินการจัดนิทรรศการเพื่อสุขภาพ
แบบประเมินการจัดนิทรรศการเพื่อสุขภาพ
ระดับคุณภาพ  2  ผ่านเกณฑ์
นักเรียนทำแบบทดสอบ
หลังเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
ร้อยละ  60  ผ่านเกณฑ์

  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
         8.1    สื่อการเรียนรู้
              1.        หนังสือเรียน  สุขศึกษา  ม.4
                        2.        รูปภาพโครงสร้างกระดูก  และนักกีฬาเพาะกาย
                        3.        บัตรคำถาม
                        4.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง โรคที่เกิดจากระบบกระดูก
                        5.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง  การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ
                        6.        ใบงานที่ 2.3 เรื่อง  ระบบกล้ามเนื้อ           
            8.2       แหล่งการเรียนรู้
                        1.        ห้องสมุด
                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
                                http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson6.php
                                http://www.nprucomed08.50megs.com/HOMEPAGE1.htm

กล่องข้อความ:   แบบประเมินการจัดนิทรรศการเพื่อสุขภาพ 


ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
1
กระบวนการปฏิบัติในการสร้างเสริมสุขภาพ




2
การเสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริม
สุขภาพ




3
การนำเสนอข้อมูล




4
รูปแบบการจัดนิทรรศการ




5
การมีส่วนร่วมในการจัดนิทรรศการ




รวม


ลงชื่อ                                                                     ผู้ประเมิน
                                                                                                    (                                                                         )
                                                                                                                        /             /              

   

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
17-20
13-16
9-12
5-8
          4         หมายถึง      ดีมาก
          3         หมายถึง    ดี
          2         หมายถึง    พอใช้
          1         หมายถึง   ปรับปรุง

ค้นหาบล็อกนี้